กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน เสี่ยงเป็นโรคอะไร พร้อม 9 วิธีแก้

กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน เสี่ยงเป็นโรคอะไร พร้อม 9 วิธีแก้

คนผอมเล่นกล้าม
10 วิธี สำหรับ คนผอมเล่นกล้าม ให้ออกมาสวยดั่งใจ
February 4, 2019
วิธีกินเวย์ ให้ได้ผล
กินเวย์โปรตีนอย่างไร ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
February 14, 2019
กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน

กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน เสี่ยงเป็นโรคอะไร พร้อม 9 วิธีแก้

กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน เสี่ยงเป็นโรคอะไร พร้อมวิธีแก้ หลายคนอาจคิดว่าโลกนี้ไม่ยุติธรรมเอาเสียเลย บางคนอยากผอมจะเป็นจะตายพยายามลดความอ้วนมากเท่าไหร่ก็ไม่ทำให้น้ำหนักลงสักที แต่ในขณะที่คนบางคนอยากเพิ่มน้ำหนัก กินเพิ่มเข้าไปเท่าไหร่ก็ไม่อ้วนเลย

ฮั่นแน่!! อย่าเพิ่งไปอิจฉาคนผอมจะดีกว่า เพราะการที่รับประทานอาหารเท่าไหร่ก็ไม่อ้วนนั้น แถมน้ำหนักยังคงที่อยู่เท่าเดิม มีความเป็นไปได้ที่จะเสี่ยงต่อปัญหาเรื่องของสุขภาพ ส่วนจะมีแนวโน้มเป็นโรคอะไรบ้างนั้น เรามาลองดูพร้อมกันดีกว่า

กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน พยาธิ

1. กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน โรคพยาธิ มีพยาธิมากเกินไป

บางครั้งการที่เรา กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วนขึ้น ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะว่าในร่างกายมีพยาธิสะสมอยู่มากเกินไป ซึ่งเจ้าพยาธิเหล่านี้ก็จะเข้าไปแย่งอาหารที่เรากินเข้าไปลงกระเพาะจนหมด ทำให้เรากินลงไปเท่าไหร่ก็ไม่อ้วนเสียที

หากคุณไม่แน่ใจว่าว่าเป็นโรคพยาธิหรือไม่ ให้ลองฝึกสังเกตตัวเองดูว่า รู้สึกปวดท้องอยู่บ่อย ๆ หรือมีอาการท้องเสียเป็นประจำ ประกอบกับกินจุแค่ไหน แต่น้ำหนักก็ไม่กระเตื้องขึ้นสักที

ในเบื้องต้นแนะนำว่าควรปรึกษาแพทย์ก่อน โดยแพทย์จะทำการตรวจอุจจาระเพื่อหาดูพยาธิในลำไส้เสียก่อน พร้อมกับให้ยาถ่ายพยาธิ หลังจากนั้นก็เฝ้าดูอาการ ถ้ายังคงกินไปก็ไม่อ้วนอีก ก็คงต้องลองหาสาเหตุของโรคอื่นต่อไป

ทำไม กินยังไงก็ไม่อ้วน

2. ออกกำลังกายมากเกินไป

กินเยอะเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน อยากอ้วน แต่ออกกำลังกายมากเกินไป บางคนอาจจะรักการออกกำลังกายจนไม่รู้ว่าตัวเองกลายเป็นโรคเสพติดการออกกำลังกายไปเสียแล้ว เรียกได้ว่าว่างเป็นต้องออกกำลังกายเรียกเหงื่อเสียทุกครั้ง ซึ่งไม่ได้เพียงแค่ทำให้ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลีย แต่ยังทำให้กินมากเท่าไหร่ก็ไม่อ้วนสักทีเช่นกัน

ทำไม กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน

3. โรคขาดสารอาหาร

คนรักษาสุขภาพส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าการกินอาหารที่เป็นประเภทผักผลไม้เยอะ ๆ ไม่เน้นกินแป้ง หรือเนื้อสัตว์เลยจะทำให้ไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายต่าง ๆ แต่บอกเลยว่าสิ่งที่คุณคิดมันไม่ถูกต้องเสียทีเดียว การไม่บริโภคอาหารเหล่านี้เลยจะทำให้เกิดโรคขาดสารอาหารที่จำเป็นบางชนิดได้

โดยเฉพาะสารอาหารที่มาจากคาร์โบไฮเดรต, โปรตีน และไขมันจากเนื้อสัตว์ เพราะนอกจากจะทำให้กินอาหารเท่าไหร่ก็ไม่อ้วนแล้ว ยังทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียไร้เรี่ยวแรงผสมเข้าไปอีก ดังนั้น ขอแนะนำ วิธีเพิ่มน้ำหนักแบบรวดเร็ว ที่ปลอดภัย

อยากกินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน

4. ไทรอยด์เป็นพิษ

โรคไทรอยด์เป็นพิษ หรือไฮเปอร์ไทรอยด์ เป็นโรคที่เกิดจากระดับฮอร์โมนต่อมไร้ท่อในร่างกายทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ระบบเผาผลาญและกระตุ้นให้ฮอร์โมนที่สัมพันธ์กับการใช้พลังงานของร่างกายเกิดการขยันมากกว่าเดิม จึงอาจจะเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่กินเพิ่มมากเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน

โดยเราสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้ว่า นอนไม่ค่อยหลับ ท้องเสียง่าย ตาโปน หรือมีอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หากรู้สึกว่ามีอาการเหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเช็คจะดีกว่า

กินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่ม

5. โรคเบาหวาน

กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน โรคอะไร หากลองสังเกตว่าตัวเองเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ ให้ดูว่ากินอาหารเยอะเท่าไหร่แต่น้ำหนักก็ไม่เพิ่มขึ้น แถมยังปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ และน้ำหนักตัวยังลดลงอย่างรวดเร็ว

ให้สันนิษฐานได้เลยว่าอาจจะเริ่มป่วยเป็นโรคเบาหวาน เพราะผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีระดับอินซูลินในเลือดมาก เมื่อร่างกายได้รับน้ำตาลเข้าไปจึงถูกขับออกมาทางปัสสาวะ ส่งผลต่อไตให้ทำงานหนักขึ้น ร่างกายก็จะเผาผลาญแคลอรีมากขึ้นไปด้วย

กินนิดเดียว ก็อ้วน

6. วัณโรค

ในบางกรณีอาจจะเกิดจากโรคเรื้อรังอย่างวัณโรค ที่ทำให้เป็นสาเหตุของการกินเท่าไหร่ไม่อ้วน ซึ่งถ้าหากมาจากเหตุผลนี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที หรืออาจจะลองเช็คอาการตัวเองก่อนว่า มีอาการไอเรื้อรัง ไอมีเลือดปน และเป็นไข้เหงื่อออกในตอนกลางคืนบ่อย ๆ ด้วยหรือไม่

โรค กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน

7. โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง

ไม่ใช่ว่าการกินอาหารเยอะแล้วถ่ายออกทันที เหมือนพวกลำไส้ต่อตรงจะหมายความว่าระบบเผาผลาญดี แต่ให้สงสัยว่าอาจจะเป็นภาวะของโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังก็เป็นได้ ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มักจะมีอาการแฝงเป็นภาวะน้ำหนักลดหรืออ้วนยากร่วมอยู่ด้วย ถึงจะทานเท่าไหร่ก็ไม่อ้วนนั่นเอง แนวทางแก้ไขคือควรไปพบแพทย์ เพื่อรักษาโรคลำไส้อักเสบให้หายก่อนจะดีที่สุด

กินยังไงก็ไม่อ้วน

8. โรคชีแฮน ซินโดรม (Sheehan’s Syndrome)

โรคนี้อาจจะไม่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่จะเป็นเฉพาะกับคุณแม่หลังคลอดบุตร ที่มีอาการตกเลือดรุนแรงในช่วงระหว่างที่คลอด จึงเป็นผลให้เลือดไปเลี้ยงต่อมใต้สมองไม่เพียงพอ ซึ่งบางแห่งของต่อมก็คือ ชีแฮน ซินโดรม

ทำให้เนื้อบริเวณนั้นตายอย่างถาวร จนไปกระทบต่อการหลั่งฮอร์โมนรวมทั้งต่อมไทรอยด์ด้วย โดยคุณแม่บางท่านอาจมีอาการนี้หลังจากคลอดบุตรไม่กี่วัน ฉะนั้น หากเกิดอาการกินเท่าไหร่น้ำหนักก็ไม่เพิ่ม ไม่อ้วน จึงสงสัยว่าอาจเป็นโรคนี้ก็ได้

กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน คือ

9. โรคมะเร็ง

มาถึงโรคอันตรายอันดับสุดท้ายที่หลายคนไม่อยากจะเป็นอย่างแน่นอน โดยเฉพาะโรคมะเร็งบางชนิดอาจจะกระตุ้นให้ร่างกายสะสมแคลเซียมไว้สูงมากผิดปกติ หรือเกิดภาวะพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินไป

ส่งผลต่อระบบการเผาผลาญเมื่อกินอาหารมากไปแค่ไหน ก็ถูกเบิร์นออกไปเสียหมด จึงเป็นเหตุให้ร่ายกายซูบผอมลงไปเรื่อย ๆ


อย่างไรก็ดี บางครั้งการกินเท่าไหร่ไม่อ้วนอาจจะไม่ได้มีสาเหตุจากการเป็นโรคเพียงอย่างเดียวก็ได้ บางเคสอาจมาจากพันธุกรรม ที่มีพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นคนรูปร่างผอมเกือบทั้งหมด หรือในบางคนก็เรียกว่ามีระบบเผาผลาญร่างกายที่ดีมีประสิทธิภาพ ซึ่งถ้าจะมาจากสาเหตุพวกนี้ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดอันตรายต่อสุขภาพแต่อย่างใด


อ้างอิง :

Weerapat Phimthongchai
Weerapat Phimthongchai
จบการศึกษาจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัจจุบันทำธุรกิจส่วนตัวและเป็นนักเขียนอิสระครับ ผมมีความสนใจในเรื่องการดูแลสุขภาพโดยรวม การดูแลรูปร่างและผิวพรรณผ่านการใช้สารสกัดและอาหารเสริมต่าง ๆ เลยอยากแบ่งปันความรู้เผื่อจะเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้อ่านทุกท่านครับ